แหล่งท่องเที่ยว
เมืองเก่า
23 มีนาคม 2566

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

 

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่า เป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณ จากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะ พัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

 

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

 

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักร ลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุง ของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์ กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร) จารึกหลักนี้เล่าถึง สมเด็จบพิตรมหาราชบุตร ราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้ครองกำแพงเพชรขึ้นไปเสวยราชย์ยังกรุงสุโขทัย และมีข้อความในจารึกตอนหนึ่งว่า “พระราชมาตุละ

บพิตร มนตรีอนุชิต ลุงตนเลี้ยงเจ้าเมืองตรายตรึงษ์ กับด้วยนักปราชญ์ราชกวีมีสกุลพรรณนั่งถวายอัญชุลีจากข้อความในตอนนี้สรุปได้ว่ามี น้าของกษัตริย์องค์นี้ (พระราชมาตุลบพิตร) ไปเข้าเฝ้า พร้อมด้วยลุงเลี้ยงซึ่งเป็นเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งแสดงว่าในช่วง พ.ศ. ๑๙๑๖ เมืองไตรตรึงษ์อยู่ในอาณาเขตของกรุงสุโขทัยยังมีหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเมืองร่วมสมัยของเมืองไตรตรึงษ์กับเมืองของสุโขทัยคือเจดีย์ฝีมือสกุลช่างสุโขทัยที่สร้างไว้ในเมืองไตรตรึงษ์และนอกเขตเมืองอย่างที่เจดีย์วัดวังพระธาตุ

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

 

 

 

 

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

 

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงเจ้ากรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๕ พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง ๓ ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า

ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจ้านวนมาก ในระหว่างการรบ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดให้ตั้งค่ายมั่นที่เมืองนครสวรรค์เพื่อรับศึกพม่า และให้พระยานครสวรรค์ยกทัพขึ้นไปบรรจบกัน ณ วังพระธาตุ กับทัพพระยายามราชไปทางปากน้าโพฟากตะวันตก และทัพ พระยาราชสุภาวดีไปทางตะวันออก ตามตีพม่าที่เมืองกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคำรี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ ๒ และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น ๔ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ ให้พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก

ส่วนที่ ๒ ให้พระยารามครองเมือง อยู่ที่สุโขทัย

ส่วนที่ ๓ ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก

ส่วนที่ ๔ ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

มีข้อความในพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นฉบับคู่แฝดกับพงศาวดารฉบับปลีกของ นายไมเคิล ริคคำรี ซึ่งบอกให้ทราบว่าเจ้าแสนสอยดาวผู้ครองเมืองกำแพงเพชรนั้นเป็นพี่ของพระยาเชลียง และมีข้อความเกี่ยวพันกับเมืองไตรตรึงษ์ตอนหนึ่งกล่าวว่า “เจ้าศรีวภักดี ซึ่งเป็นรองจากแสนสอยดาว ได้เจรจากับพระยารามและมหาธรรมราชาที่ ๔ ว่าจะเป็นทัพหน้ายกขึ้นไปไตรตรึงษ์

ข้อความในพงศาวดารที่ยกขึ้นมาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในช่วงนั้นเมืองกำแพงเพชรมี เจ้าแสนสอยดาวปกครองอยู่ เมืองกำแพงเพชรต้องสู้รบกับเมืองอื่น ๆ ทัพหน้าที่ยกมาเมืองไตรตรึงษ์ ถูกตีกลับมาจนต้องให้พระยาเชลียงไปช่วยตีเมืองแล้วแต่งตั้งให้เจ้าไกรได้ครองเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าในช่วง พ.ศ. ๑๙๗๕ เมืองไตรตรึงษ์มีเจ้าเมืองจากทางเหนือเข้ามาปกครองเมืองไตรตรึงษ์

จากหนังสือลิลิตยวนพ่าย ซึ่งแต่งขึ้นมาเพื่อสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นเรื่องราว การท้าศึกสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนา กล่าวถึงพระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองพิษณุโลกว่าเอาใจ ออกห่างจากกรุงศรีอยุธยา โดยไปติดต่อกับพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยาตราทัพไปประชิดทัพเมืองเชียงใหม่เพื่อตีเมืองเชียงชื่น ทัพทั้งสอง สู้รบกันเป็นสามารถโดยทัพเชียงใหม่เป็นฝ่ายปราชัย ในจ้านวนโคลงดั้น ๓๖๕ บท มีอยู่หลายบท ที่กล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์ และเมืองเทพนคร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลักฐานของความ เป็นบ้านเป็นเมืองที่ยังคงมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ ดังบทที่ ๑๘๓ ความว่า

 

หยหัศดิพิรพ่าหพ้อง พลแขวง หนึ่งฤา

ปูนแปดพันปลายปอง เกลื่อนแก้ว

หัวเมืองกำแพงเพชร ครองเคลื่อน ไคลแฮ

ธงเทศพรายแพร้วกั้ง กูบเงิน

เมื่อทัพของพระเจ้าติโลกราชจากหัวเมืองล้านนายกลงมาตีเมืองพิษณุโลกซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองอยู่ กองทัพจากเมืองกำแพงเพชรจึงยกทัพเพื่อจะไปร่วมรบกับทัพของกรุงศรีอยุธยา ส่วนอีกบทหนึ่งกล่าวถึงกองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้เมืองไตรตรึงษ์ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนนั้นเมืองไตรตรึงษ์และเทพนครคงเข้ากับเมืองทางล้านนา ดังบทที่ว่า

ชัยชัยยศโยคก้อง ไตรตรึงษ์

บุญเบิกเวียงทอง ปือ ไต่เต้า

ชัย ชัย ล้าพึงเสียง ฤาลาภ

สรนั่น นิ้วนอบเข้า อยู่มือ

 

บทต่อมากล่าวถึงเมืองเทพนครก็ยอมเข้าถวายตัวคือโคลงบทที่ ๒๙๐

 

ชัยชยานุภาพ เทียมทิน กรแฮ

เมืองเทพคนธรรม์ฤา อยู่ถ้อย

ชัยชัยพ่อเพียงอินทร์ นุภาพ

บุญบอกเมืองถ้วนร้อย รอบถวาย

และบทต่อมากล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร

ชัยชัยเมื่อปราบอ้อม กำแพงเพชร

ผืนแผ่นสายเสมา ออกกว้าง

ชัยชัยท่านไตรเตร็จ ในนารถ

ยศโยกบุญท้าวอ้าง อาจครวญ

 

นอกจากจะถูกกล่าวถึงในลิลิตยวนพ่ายซึ่งเป็นสมัยพระบรมไตรโลกนาถแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ ยังเป็นเมืองที่ปรากฏชื่อในจารึกหลักที่ ๓๘ (ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร) สรุปใจความได้ว่า ในบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเสด็จมาประทับที่ใน เมืองกำแพงเพชรในตอนที่จะสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรนั้น มีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์รวมอยู่ด้วยองค์หนึ่ง ช่วงอายุของศิลาจารึกหลักที่ ๓๘ อยู่ในช่วงระหว่างรัชกาลของสมเด็จพระนครินทราธิราชมาถึงรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา แสดงให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีความเป็นบ้านเป็นเมืองมาอย่างต่อเนื่องผิดกับเมืองนครชุมที่หมดความสำคัญและหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์แล้ว

 

          เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์ความเป็นมาของเมืองไตรตรึงษ์

 

จากตำนานสิงหนวัติกุมาร มีว่าพระเจ้าพรหมโอรสพระเจ้าพังคราช ขณะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ยกกองทัพขับไล่ขอมดำมาถึงเมืองกำแพงเพชร อันเป็นดินแดนลวรัฐเก่า พระอินทร์เกรงว่าผู้คนจะล้มตาย จึงเนรมิตกำแพงขวางกันไว้ ไม่ให้พระเจ้าพรหมผ่านไปได้จึงเรียกกำแพงที่เนรมิตนั้นว่า กำแพงเพชร ต่อมาพระเจ้าชัยศิริ โอรสพระเจ้าพรหม มีข๎าศึกชาวมอญจากเมืองสุธรรมดียกกองทัพมารุกราน พระเจ้าชัยศิริอพยพไพร่พลลงมาที่เมืองกำแพงเพชร สร้างเมืองไตรตรึงษ์ขึ้นเมืองไตรตรึงษ์บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 3 ชั้น ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ขนาดกว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 840 เมตร ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันตก แต่ไม่ใช้ลำน้ำเป็นแนวคูเมือง เพราะพบร่องรอยคูเมืองเดินขนานกับแนวแม่น้ำ แนวกำแพงเมืองด้านเหนือติดอยู่กับแม่น้ำ บางส่วนได้ถูกกระแสน้ำกัดเซาะพังทลายบริเวณกลางเมืองไตรตรึงษ์มีโบราณสถานขนาดใหญ่ 2 แห่ง แห่งแรกเรียกว่า เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นลักษณะเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างก่อเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย จึงเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ ส่วนยอดพังทลาย ฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออกทำเป็นซุ้มพระยื่นออกมา เจดีย์แบบนี้นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย รายรอบเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีฐานเจดีย์รายเล็กๆ ก่อด้วยอิฐหลายองค์โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเจดีย์เจ็ดยอด ห่างออกไปประมาณ 200 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐ มีฐานวิหารและฐานเจดีย์รายเล็กๆ ก่อด้วยอิฐเช่นเดียวกันตามผิวดินภายในเมืองไตรตรึงษ์พบเศษภาชนะดินเผาทั้งประเภทเครื่องเคลือบแบบสุโขทัยหรือที่เรียกว่า เครื่องถ้วยสังคโลก เศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องดิน และชนิดเผาแกร่งไม่เคลือบจากการขุดค้นทางโบราณคดีของกรมศิลปากรในบริเวณกลางเมืองไตรตรึงษ์พบว่าถัดจากชั้นดินที่พบเศษภาชนะดินเผาแบบสุโขทัย พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เช่น เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนตะเกียงดินเผา โดยเฉพาะชิ้นส่วนตะเกียงดินเผานั้นเป็นแบบที่พบทั่วไป ตามแหล่งทวารวดีในเขตภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หลักฐานดังกล่าวทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ก่อนที่จะเป็นบ้านเมืองสุโขทัย ได้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยทวารวดี แต่คงไม่เป็นเมืองหรือชุมชนใหญ่ เป็นเพียงแค่ชุมชนที่อยู่บนเส้นทางคมนาคมฝั่งแม่น้ำปิงที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างทางเหนือกับที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของ จิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๔-๒๓๘๑ สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี ๕ เมืองคือ

เมืองโกสามพิน ๑ (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี)

เมืองบงการบุรี ๑ (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด)

เมืองโบราณราช ๑ (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด)

เมืองนาถบุรี ๑ (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด)

เมืองไตรตรึงษ์ ๑

จากจารึกวัดเชตุพนอันนี้จึงถือเป็นหลักฐานสำคัญว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีความเป็นบ้าน เป็นเมืองมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แต่น่าจะลดระดับลงเป็นชุมชนหรือเมืองเล็ก ๆ และสิ่งสำคัญเป็น ข้อยืนยันได้ว่าเมืองไตรตรึงษ์ไม่ใช่เป็นเมืองที่ถูกจับตั้งชื่อให้เข้ากับตำนานโบราณหรือนิยายปรัมปรา แต่อย่างใด